หน้าหลัก ข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ ติดต่อเรา

ม.ศรีปทุม ชลบุรี เจ๋ง ระเบิดไอเดีย จนคว้ารางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ แข่งขันแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซชุมชน จาก ETDA ต่อยอดการท่องเที่ยว-สินค้า SME



     มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การแข่งขัน Final Pitching กับกิจกรรม “Boosting Craft Idea รวมพล คนดิจิทัล ระเบิดไอเดีย เพื่อสังคม”ทีมตัวตึง spu กับผลงาน แผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบวงจร ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ซึ่งได้ลงมือทำจริงและสามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับ SME ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน จัดโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อเฟ้นหาสุดยอดโมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซชุมชน ที่ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางดิจิทัล ไปสู่การสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชนของไทย ทีมตัวตึง spu มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ประกอบด้วย นายบุ๊ชริน ขำวิลัย , นายพิชญุตม์ กุลธนาเรืองกิตติ์ และ นายอมลวัฒน์ ฤทธิชัย โดยทีม ตัวตึง spu กล่าวว่า แผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบวงจร ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด เริ่มต้นจากการสำรวจ หาข้อมูลของพื้นที่ก่อน พบว่า ชุมชนแห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญคือ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ,สภาพแวดล้อมเหมาะกับการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว,มีความเป็นกลางทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิดกับเมืองหลัก และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นชุมชนตัวอย่าง ที่ได้รางวัลจากหน่วยงานต่างๆจำนวนมาก และมีกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้มาเที่ยวยังสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนได้ เช่น การสานงอบ พื้นที่ดังกล่าวยังมีอุปสรรค ในเรื่องของระยะทางการเดินทาง ,ภัยธรรมชาติที่ไม่ตรงฤดูกาล และความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยว ที่สำคัญคือ มีคู่แข่งในพื้นที่ข้างเคียง คือ บ้านอ่าวใหญ่เกาะกูด,ชุมชนบ้านโขดทราย,ชุมชนบ้านยายม่อน,เกาะกูด และ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านการทำการตลาดให้ชุมชนเป็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น การขาดความต่อเนื่องในการทำตลาด , การขาดผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัล,การประชุมสัมพันธ์และการจำหน่ายสินค้ามีเพียงช่องทางเดียว ,ผลิตภัณฑ์ของชุมชน ขาดความเป็นเอกลักษณ์ การนำเสนอเรื่องราวในชุมชนยังขาดการนำเสนอที่น่าสนใจ ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อย เพราะชุมชนขาดความแปลกใหม่ในการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ทีมจึงได้หาข้อมูล ด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในปี 2565 สถิติการท่องเที่ยวในจังหวัดตราด ส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 5,500 บาท ขณะที่สถิติการใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูป ติ๊กต็อก ไลน์ และ อินสตราแกรม เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้โดยง่าย ทีมตัวตึง spu จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กลุ่มคน GEN Y-Z,กลุ่มคนที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000-50,000 บาท,กลุ่มคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม,กลุ่มคนที่มาเที่ยวจังหวัดตราดและต้องการหากิจกรรมเพิ่มเติม,กลุ่มศึกษาดูงานและกิจกรรมสานสัมพันธ์,กลุ่มคนที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องสุขภาพและหน้าที่การงาน,กลุ่มผู้ที่สนใจในเรื่องราว และความเชื่อ ตลอดจนกลุ่มทัวร์ และ กลุ่มทัวร์ผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการเข้าถึงลูกค้าด้วยช่องทาง เฟซบุ๊ก ,อินสตราแกรม,ไลน์ ออฟฟิเชียล ,ติ๊กต็อก,ลาซาด้า,ช้อปปี้,อีเบย์ รวมถึงการออกแบบแอปพลิเคชันชุมชนและการออกบูธงานท่องเที่ยว จัดโดยหน่วยงานรัฐต่างๆ เมื่อมีการปรับแผนการท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ จะพบว่า สามารถนำรายได้เข้าคนในชุมชน 3,690 บาท ต่อทริป มีรายได้เข้าวิสาหกิจ 549 บาท สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ งอบ ให้มีหลายขนาด มีการปรับแพ็คเกจ อาหารทะเลแปรรูป เพื่อนำไปขายในช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าที่เป็นวัยรุ่น และต่างชาติ มีการพัฒนาแยมลูกจากและระกำ ออกแบบโลโก้ ปรับเปลี่ยนแพ็คเกจ เพื่อนำมาขายให้นักท่องเที่ยวใช้ประกอบอาหารเช้าที่โฮมสเตย์ เป็นวัตถุดิบในคาเฟ่ และโรงแรม นำไปขายผ่านช่องทางออนไลน์ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% สามารถขายได้ในราคา 85 บาท มียอดขายเพิ่มขึ้น 5-10% กำไร 50% ด้าน นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีความสามารถในการทำธุรกรรมออนไลน์อย่างมีคุณภาพ เกิดการสร้างรายได้และโอกาสที่ดี ผ่านการให้ความรู้ ตลอดจนการพัฒนาทักษะ ในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมในภาคส่วนสำคัญทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชน คือหนึ่งในภารกิจที่ ETDA ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตโดยใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือมากขึ้น ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัวทั้งการทำงานและการให้บริการปรับเปลี่ยนไปด้วย หลายธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นสิ่งสะท้อนว่าในปัจจุบันโมเดลธุรกิจแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์ได้เพียงพอที่จะนำพาธุรกิจให้อยู่รอด การมีโมเดลธุรกิจที่พาสินค้าและบริการขึ้นไปขายบนโลกออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการหลายคนให้ความสำคัญโดยเฉพาะสินค้าและบริการในชุมชนที่ต้องการแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงเพื่อสร้างโอกาสและรายได้ ETDA ได้ดำเนินโครงการ ETDA Local Digital Coach หรือ ELDC ที่มุ่งพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) ให้มีความรู้และทักษะดิจิทัล รวมถึงการทำ e-Commerce ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง กลุ่มเป้าหมายของ ELDC จะเป็นนักเรียน นักศึกษา บัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่ ประชาชนที่สนใจ กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาทักษะจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน ด้วยการลงพื้นที่ชุมชนโดยตรง สำรวจเก็บข้อมูล และร่วมพัฒนาสินค้าชุมชน จนสามารถพัฒนาเป็น Business model ให้กับชุมชนนั้น ๆ ขยายผลให้ชุมชนนำแผนไปต่อยอด เพิ่มช่องทางออนไลน์ เพื่อให้มียอดขายเพิ่มขึ้น


 

> ผู้บริหาร EEC จัดกิจกรรมพบปะสื่อมวลชนจังหวัดชลบุรี พร้อมเผยทิศทางการพัฒนา EEC ในจังหวัดชลบุรี

> องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ สูงวัยสุขภาพดี กายใจเป็นสุขเนื่องในโอกาสเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุจังหวัดชลบุรี

> นายก อบจ.ชลบุรี มอบข้าวสารกว่า 2,000 กิโลกรัม ให้กับผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ในเขตพื้นที่ ตำบลนาป่า

> รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เชิญชวนพี่น้องชาวชลบุรีเข้าร่วม “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ครั้งที่ 6 จังหวัดชลบุรี

> เทศบาลตำบลบางทราย จัดโครงการร้อยรักดวงใจ ใส่ผู้สูงอายุและผู้พิการ ประจำปีงบประมาณ 2567

 
———————————————————————————————————————————————————————————–––––––––
www.ชลบุรีบูรพา.com © All Rights reserved 2016 Contact us. หมู่บ้านปรารถนา 3 ต.เสม็ด อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี Tel. 086 313 4015
Email : kai_bangsaen13@hotmail.co.th